วันจันทร์ที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2557

กำเนิดเกมลูกหนังโลก
หาก จะพูดถึงกีฬาฟุตบอล หลายคนอาจจะรู้ดีว่าเป็นกีฬาที่คนทั่วโลกนิยมชมชอบกันมากที่สุด แต่ถ้าจะมองย้อนกลับไป คงจะมีอีกหลายคนที่ไม่รู้ว่า จริงๆ แล้ว ต้นกำเนิดของฟุตบอลไม่ได้เริ่มขึ้น เพียงแค่ 100 -200 ปีที่ผ่านมา

จริงๆ แล้ว ฟุตบอลเริ่มแพร่หลายและนิยมเล่นกันมากว่า 2,000 ปีมาแล้ว โดยแรกเริ่มมีการค้นพบ ว่าในราชวงศ์ ฮั่น ของจีน ช่วง 200 -300 ปีก่อนคริสตกาล มีการเล่นฟุตบอลกันแล้ว แต่ในครั้งนั้น ขุนนาง รวมทั้งประชาชนทั้งหลายจะนิยมเล่นกันเพื่อเป็นการออกกำลังกาย เสริมสร้างความแข็งแกร่ง โชว์ทักษะความสามารถเฉพาะตัว ไม่มีการเข้าปะทะกัน โดยมีการนำขนนกมาเย็บติดกับหนังสัตว์ แล้วใช้เท้าเตะบอลขนนกนี้ให้สูง 30 -40 เซนติเมตร ข้ามไม้ไผ่ที่คั่นกลางระหว่างผู้เล่นทั้ง 2 ฝ่าย ใครสามารถทำให้อีกฝ่ายรับบอลขนนกไม่ได้ ก็จะเป็นฝ่ายชนะ ซึ่งการเล่นแบบนี้ ต้องอาศัยคนที่มี ทักษะ ปฏิภาณ - ไหวพริบที่ยอดเยี่ยม เนื่องจากไม่อนุญาตให้ใช้มือตีบอลขนนก แต่จะอนุญาตให้ใช้ ไหล่, หน้าอก, เข่า,เท้า และ ศีรษะ เดาะหรือเตะเจ้าบอลขนนกเท่านั้น

จากนั้นอีก 500 - 600 ปีต่อมา ที่ประเทศญี่ปุ่นจึงมีการเล่น ที่เรียกว่า
"คามารี่" และมีการพัฒนาการนำหนังสัตว์มาทำเป็นลูกบอล แต่ว่าทำให้มันกลมขึ้น แตก ต่างจากสมัยราชวงศ์ ฮั่น มีการเล่นที่เป็นแบบแผนและสง่างามมากขึ้น แม้แต่ในราชสำนักยังนิยมเล่นกันในงานราชพิธีต่างๆ ซึ่งวิธีการเล่นก็ง่ายๆ โดยมีข้อแม้ ห้ามใช้แขน แต่ให้ใช้เท้า, ขา, หน้าอก, เข่า รวมทั้งศีรษะ เดาะบอล ภายในเขตกำหนด แล้วส่งบอลต่อไปให้ผู้เล่นคนอื่น ใครที่ทำบอลหล่นตกลงสู่พื้นถือว่าแพ้ เกมนี้เป็นที่นิยมกันมาก จวบจนกระทั่งปัจจุบันนี้ก็ยังมีผู้ที่นิยมเล่นกันในประเทศญี่ปุ่น

ส่วนในทวีปยุโรป กีฟาฟุตบอลที่ว่านี้ ก็เริ่มนิยมเล่นกันตั้งแต่สมัยกรีกและโรมัน โบราณ โดย กรีก จะเรียกว่า "อีปิสกายรอส" ขณะที่ โรมัน จะเรียกว่า "ฮาร์ปุสตัม" ซึ่งการเล่นจะแบ่งเป็น 2 ฝ่ายในพื้นที่สี่เหลี่ยม มีเส้นแบ่งกึ่งกลางสนามและเส้นเขตแดน โดยผู้เล่นทั้ง 2 ฝ่ายจะต้องพยายามแย่งลูกฟุตบอลเล็กๆ แล้วใช้มือส่งบอล พาไปยังเขตแดนฝั่งตรงข้ามจนทำประตูให้ได้ ซึ่งการเล่น"อีปิสกายรอส" หรือ "ฮาร์ปุสตัม" ค่อนข้างจะไม่มีกฏเกณฑ์อะไรมาก สามารถเข้าไปอัด, กระแทก หรือ ชก คู่ต่อสู้ที่ถือบอล เพื่อพยายามแย่งบอลมาให้ได้ ท่ามกลางเสียงโห่ร้องของผู้เล่นทั้ง 2 ฝ่าย

สำหรับกีฬาฟุตบอลสมัยใหม่ ที่เริ่มเป็นรูปเป็นร่างคล้ายกับในปัจจุบันนี้ เกิดขึ้นในช่วงศตวรรษที่ 18-19 ที่ประเทศอังกฤษ จนในปี 1846 สมัยสมเด็จพระราชินีวิคตอเรีย มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ จึงเริ่มกำหนดกฏข้อบังคับ เรียกว่า "กติกาเคมบริดจ์" มี การแบ่งคู่แข่งออกเป็น 2 ทีม อนุญาตให้ใช้ทุกสรีระของร่างกายเล่นฟุตบอลได้ ยกเว้นมือเพียงอย่างเดียว จนกระทั่งได้รับ ความนิยมอย่างสูงแพร่หลายไปทั่วโลก และจากความนิยมนี้เอง ในปี 1902 เคานต์ ฟาน เดอ สเตร์ต็อง ปูตัว จึงได้ปรึกษา หารือกับ คอร์เรเลียส เฮิร์ชมันน์ นายธนาคารชาวดัตช์ เพื่ออยากจะจัดเกมการแข่งขันฟุตบอลโลกขึ้น เพื่อพิสูจน์ว่าชาติใดมี ลีลาการเล่นที่เป็น 1 ในโลก

แต่หลังจากที่ เคานต์ ฟาน เดอ สเตร์ต็อง ปูตัว กับ คอร์เรเลียส เฮิร์ชมันน์ ได้ส่งเรื่องนี้ไปให้ เฟรเดริค วอลล์ เลขาธิการสมาคมฟุตบอลของ อังกฤษ พิจารณาเพื่อขอความร่วมมือ ทว่าความคิดนี้ก็ต้องล้มเลิกลง เพราะ วอลล์ ไม่เห็นด้วย อย่างไรก็ตามในปี 1904 ก็นับว่าโชคยังดีที่องค์กรลูกหนังที่ยิ่งใหญ่ของ โลก อย่างสหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ (ฟีฟ่า) สามารถก่อตั้งขึ้นได้ โดยมี โรแบร์ กูริน เป็นประธานคน แรก จุดมุ่งหมายก็เพื่อ อยากจะจัดการแข่งขันฟุตบอลโลกให้ได้
และความพยายามของฟีฟ่าก็ต้องรอเกือบ 30 ปีกว่าจะ ประสบความสำเร็จขึ้นมาได้ เมื่อ จูลส์ ริเมต์ ประธาน ฟีฟ่าชาวฝรั่งเศส ซึ่งรับตำแหน่งเป็นคนที่ 3 ในปี 1921 ได้ร่วมมือกับ อองรี เดอ โลเนย์ ประธานลูกหนังของเมืองน้ำหอม ผลักดันให้มี การลงมติชนะ 25 เสียง ต่อ 5 ให้ประเทศอุรุกวัยเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขัน ฟุตบอลโลก เป็นครั้งแรก แม้จะมีการคัดค้านจากหลายชาติในทวีปยุโรป ที่เห็นว่าการเดินทางไปทวีปอเมริกาใต้ค่อนข้างใช้ระยะเวลานาน รวมทั้งต้องเสียค่า ใช้จ่ายอย่างมหาศาลก็ตาม ฟุตบอล โลกจึงได้ถือกำเนิดเป็นครั้งแรก ที่ประเทศอุรุกวัย ในปี 1930 ด้วยข้ออ้างที่ว่า อุรุกวัย เป็นเจ้าของแชมป์ในกีฬา โอลิมปิกเกมส์ 2 สมัย และยังสามารถออกค่าใช้จ่ายให้กับทุกทีมที่เดินทางมาแข่งขันได้ ทำให้กีฬาลูกหนังที่มีอายุยืนยาวมานานหลายพันปีอุบัติขึ้นอย่างเป็นทางการ ให้ทุกชาติทั่วโลกต่างไขว่คว้าหาความสำเร็จตั้งแต่บัดนั้น เป็นต้นมา

วันศุกร์ที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2557

เบลเยียม สวรรค์แห่งช็อกโกแลต  เที่ยวเมืองบรูจจ์ นอกจากสถานที่่ท่องเที่ยวแล้ว “เบียร์” ของเบลเยียมก็มีชื่อก้องโลกไม่แพ้ช็อกโกแลตเลยเชียว
เบลเยียม สวรรค์แห่งช็อกโกแลต ตอนที่ 2 เที่ยวเมือง บรูจจ์
หลังจากชาร์ตแบตในร่างกายมาเต็มเปี่ยม ก็ถึงเวลาเคลื่อนทัพเยี่ยมชมดินแดนช็อกโกแลตกันต่อ ซึ่งเมืองสวยในใจวันนี้ที่ต้องไปเห็นให้ได้กับตาคือ เมืองบรูจจ์
Brugge (บรูจจ์) เมืองบรูจจ์ เป็นเมืองริมชายฝั่งทะเลที่โด่งดังเมืองหนึ่งของประเทศเบลเยียม เมืองนี้ถูกล้อมรอบด้วยคูเมืองถึงสองชั้น ซึ่งน่าจะเป็นการป้องกันข้าศึกศัตรูในสมัยก่อนวิธีหนึ่ง ในปัจจุบัน บ้านเรือน อาคาร และโบสถ์ ยังคงรูปแบบสถาปัตยกรรมแบบเดิมคือ เฟลมมิช และเรเนซอง ที่ดูวิจิตรสวยงามดุจดั่งมนต์ขลัง ตึกรามบ้านช่องดูเป็นระเบียบ ถนนหนทางก็ดูสะอาดตา แสดงว่าผู้คนเค้าต้องมีระเบียบวินัยในตนเองเป็นอย่างมาก
เบลเยียม สวรรค์แห่งช็อกโกแลต ตอนที่ 2 เที่ยวเมือง บรูจจ์
เมื่อมาเมืองบรูจจ์ ก็ต้องมองหาสถานที่ที่น่าสนใจและมีชื่อเสียง เลยเดินเข้าโบสถ์ซะเลย เพราะที่โบสถ์พระแม่มารีของเมืองนี้มีประติมากรรมหินอ่อนชื่อว่า Madonna & Child ที่งดงาม โดยแกะสลักจากฝีมือศิลปินชื่อก้องโลกอย่าง มิเคลันเจโล เมื่อเดินเข้ามาภายในมันช่างเงียบสงบสมกับเป็นโบสถ์จริงๆ และบรรยากาศก็เย็นๆ หันซ้ายแลขวา และแล้วสายตาก็มาปะทะกับประติมากรรมหินอ่อนอันเลื่องชื่อที่ดูอ่อนช้อยงดงาม ไม่รู้ว่าท่านมิเคลันเจโลทำได้อย่างไร สุดยอด!
เบลเยียม สวรรค์แห่งช็อกโกแลต ตอนที่ 2 เที่ยวเมือง บรูจจ์
ตื่นจากความตะลึงได้สักพัก ก็เดินออกมาสู่จัตุรัสใจกลางเมือง เยี่ยมชมวิถีชีวิตของผู้คนที่นี่ ต่างออกมายืดเส้นยืดสาย นั่งจิบกาแฟรับแดดรับลมตามร้านอาหาร ที่มีอยู่รอบจัตุรัส ซึ่งก็มีกิจกรรมต่างๆ มากมายไม่ว่างเว้น ณ จัตุรัสกลางเมืองแห่งนี้ อย่างเทศกาลเบียร์ ก็จะมีขบวนพาเลสยกมาอวดโฉมแสดงถึงความเป็นมาแบบดั้งเดิม ผู้คนก็แต่งตัวแบบชาวพื้นเมือง เป็นที่น่าสนใจของนักท่องเที่ยวต่างเมืองยิ่งนัก
เบลเยียม สวรรค์แห่งช็อกโกแลต ตอนที่ 2 เที่ยวเมือง บรูจจ์
ออกจาก เมืองบรูจจ์ จึงรีบมุ่งหน้าสู่อีกเมืองหนึ่งที่มีประวัติศาสตร์ที่ น่าสนใจไม่น้อยเลย เพราะเห็นเค้าบอกว่าเมืองนี้มีแต่ผู้หญิง เอ๊ะ…ทำไมเป็นงั้นล่ะ เลยรีบซอยเท้าไปหาคำตอบที่เมือง Tongeren
เบลเยียม สวรรค์แห่งช็อกโกแลต ตอนที่ 2 เที่ยวเมือง บรูจจ์
Tongeren เป็นเมืองเก่าแก่ที่สุดของประเทศเบลเยียม ตัวเมืองล้อมรอบด้วยกำแพงหินที่ดูแน่นหนาแข็งแรง เมืองนี้นับว่าเป็นเมืองที่ได้รับความสนใจจากนักท่องเที่ยวต่างแดนมากที่สุด เพราะนอกจากประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจแล้ว สถาปัตยกรรมและสิ่งปลูกสร้างที่ยังคงอยู่ มันเป็นสิ่งที่ดึงดูดให้ศึกษาและใคร่รู้เป็นอย่างมาก โดยเฉพาะพวกที่ชอบประวัติศาสตร์ต่างแดนอย่างเรา ที่สำคัญเมืองนี้เค้ามีไกด์คอยบอกกล่าวเล่าเรื่องราว และพาเดินชมรอบเมืองกันเป็นอาชีพเลยเชียว
เบลเยียม สวรรค์แห่งช็อกโกแลต ตอนที่ 2 เที่ยวเมือง บรูจจ์
เลยได้ความมาว่า แต่เดิมในครั้งประวัติศาสตร์พวกนักต่อสู้เพื่อศาสนา เค้าเกณฑ์ผู้ชายออกไปรบทับจับศึก จึงปล่อยให้ผู้หญิงนั้นอยู่บ้าน แต่เนื่องจากเหล่าบรรดาผู้หญิงต่างก็อยู่กระจัดกระจายไปทั่ว ซึ่งยากแก่การดูแล จึงให้มารวมตัวกันอยู่ที่เมืองนี้เพื่อง่ายต่อการดูแล และรักษาความปลอดภัย แต่ก็นั่นแหละ เมื่อเหล่าแม่บ้านมารวมตัวกันก็เลยเกิดการหาอาชีพเสริมเพื่อหารายได้ระหว่าง สามีไปรบ จึงได้มีการทำบ้านพักคนชราเกิดขึ้น แต่มีข้อแม้ว่า หากคนชราใดที่มีฐานะและอยากมาอยู่บ้านนี้ ก็ต้องมีการจ่ายเงินเป็นการแลกเปลี่ยน เลยทำให้บรรดาแม่บ้านนักรบพวกนี้มีรายได้ นับว่ามีฐานะกันเลยทีเดียว แต่เค้าก็ไม่ได้นอนกอดเงินอย่างเดียวนะ พวกเค้ารวมเงินกันสร้างโบสถ์ ซึ่งเป็นสถานที่อันศักดิ์สิทธิ์ไว้ที่เมืองนี้ด้วย เรียกว่าเงินหมุนเวียนสู่สังคมจริงๆ ซึ้ง
เบลเยียม สวรรค์แห่งช็อกโกแลต ตอนที่ 2 เที่ยวเมือง บรูจจ์
ย่ำเท้ากันจนเมื่อย แต่มีความสุขจริงๆ ที่สมองเต็มอิ่มไปด้วยประวัติศาสตร์ต่างแดนแต่ครั้งโบราณ แต่ว่าท้องมันเริ่มครวญครางถามว่าลืมอะไรไปหรือเปล่า อืม…น่าเห็นใจ งั้นขอปิดท้ายทริปเบลเยียมด้วยการหาอาหารเลื่องชื่อของประเทศนี้เอาใจมันซะ หน่อย
อาหารท้องถิ่นลือนามของชาวเบลเยียม คือ Moules Frites และ Pommes Frites
เบลเยียม สวรรค์แห่งช็อกโกแลต ตอนที่ 2 เที่ยวเมือง บรูจจ์
Moules Frites คือ หอยแมลงภู่อบ ใส่หัวหอมใหญ่ และเครื่องปรุงรสตามแบบฉบับชาวเบลเยียม เสริฟพร้อมมันฝรั่งทอด แต่มันฝรั่งเค้าปรุงรสด้วยนะ รสชาติกลมกล่อม โดยเฉพาะหอยแมลงภู่เนื้อหวาน สดทุกตัว อร่อยถูกปากเลยซัดซะพุงกาง จากนั้นต่อด้วยอีกจานที่ลือชื่อ แต่เราว่ามันน่าจะเป็นของกินเล่นแกล้มเบียร์มากกว่า เลยจัดมาคู่กันซะเลย
Pommes Frites คือ มันฝรั่งทอดต้นตำหรับฉบับเบลเยียม น่าจะเป็นอย่างเดียวกับที่เสริฟมาพร้อมกับหอยแมลงภู่นั่นแหละ แต่คราวนี้จัดเต็มจานเลย เพราะจะนำมาเคล้าเบียร์ซะหน่อยจะได้คล่องคอ เพราะเบียร์ของประเทศเบลเยียมนี่ก็ ชื่อก้องโลกไม่แพ้ช็อกโกแลตเลยเชียว แล้วก็จริงดังว่า มันฝรั่งเค้ากรอบนอกนุ่มใจถูกใจจัง แถมมีชีสดิ๊ปให้จิ้มอีก อร่อยที่สุด จิบเบียร์ไปกินมันฝรั่งไปจนลืมว่าท้องจะแตกแล้ว แต่เบียร์เค้าก็สุดยอดมีหลายรสชาติให้เลือก แต่ไม่ต้องกลัว ไม่เมาหรอก ไม่มีเบียร์ชาติไหนขมปี๋เท่าเบียร์ไทยอีกแล้ว แล้วไม่นานทุกอย่างก็อันตรธานหายไปในพริบตา เลยขอปิดทริปการเดินทางแบบตาหวานเยิ้ม และคอนเฟริ์มว่าเบลเยียม ของเค้าเยี่ยมจริงๆ
เบลเยียม สวรรค์แห่งช็อกโกแลต ตอนที่ 2 เที่ยวเมือง บรูจจ์